วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย
หัวข้อวิจัย การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
The Development of learning materials for Enhance science skill and thinking skill by Using Local Wisdom for Early childhood center of Udonthani Province
 ผู้ดําเนินการวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์ จันบัวลา
นายมานะ  เอี่ยมบัว  
หน่วยงาน  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ปีการศึกษา 2555
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี  จำนวน 197 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.แบบสอบถามเกี่ยวกับสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และ ทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในเขต พื้นที่จังหวัดอุดรธานีประกอบด้วย 5 ส่วน คือ   ส่วนที่  1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม   ส่วนที่  2 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด  ส่วนที่  3 สื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด  ส่วนที่  4 สื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนที่  5 ปัญหาและอุปสรรคในการประดิษฐ์หรือใช้สื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสอบถามครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดอุดรธานี จำนวน 197 คน  2.แบบประเมินสื่อที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับ เด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประเมินสื่อการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแบ่งเป็น 3 ด้านคือ 1.ด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2 ด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิดของเด็กปฐมวัย.  3 ด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย  4 ด้านความปลอดภัย 5 ด้านวัสดุและกรรมวิธีการผลิต  6 ด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.วัสดุสำหรับทำสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่
 1.เครื่องจักสานจากไม้ไผ่
 2.ไม้ไผ่
 3.กะลามะพร้าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น