วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ. ศ. 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.
คุณครูให้นักศึกษาเขียนมายแมพปิ้งเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามความเข้าใจของนักศึกษา โดย แยกความสำคัญออกมา 3 ครั้งได้แก่ การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์ และเด็กปฐมวัย

ความหมายของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย   จะแตกต่างไปจากการจัดประสบการณ์ให้เด็กวัยอื่น ๆ 
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นควรเน้นที่การกระทำโดยอาศัยพื้นฐานเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริง
รอบตัวของเขา  ซึ่งการให้เด็กได้มีส่วนในการกระทำกิจกรรมนี้จะพัฒนาทักษะในการคิดอย่างมีระบบ  อันเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ระดับที่สูงต่อไป
แนวคิดพื้นฐาน
1 ความสมดุล
2 การเปลี่ยนแปลง
3 ความแตกต่าง
4 การปรับตัว
5 การพึ่งพาอาศัยกัน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1 การกำหนดปัญหา
2 การตั้งสมมติฐาน
3 การลงมือทำและการสังเกต
4 สรุปผล ตรวจสอบ
ตัวอย่าง
ประเด็นปัญหา = อยากกินปลา
ตั้งสมมติฐาน = ถามเด็กว่า ทำอย่างไรเราถึงจะกินปลาได้ พร้อมจดบันทึกสิ่งที่เด็กตอบลงในชาร์ท
ลงมือปฏิบัติและสังเกต = ยกตัวอย่างคือการนำปลาไปทอด และให้เด็กสังเกตว่าขณะที่นำปลาลงทอด สีของชิ้นปลา มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
สรุปผล = คุณครูและเด็กช่วยกันสรุปผล ว่าขณะที่ลงมือทำ เป็นอย่างไรบ้าง และจดบันทึก ลงในชาร์ท
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1 อยากรู้อยากเห็น
2 มีความเพียรพยายาม
3 มีความซื่อสัตย์
4 มีเหตุมีผล
5 มีความใจกว้าง
6 มีระเบียบรอบคอบ
ประโยชน์ ทางวิทยาศาสตร์
1 ทำให้ชีวิตสุขสบาย
2 พัฒนาแนวคิดพื้นฐาน
3 ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
4 ช่วยแก้ไขปัญหา
5 รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6 ปรับปรุงคุณภาพชีวิต
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อาศัยเครื่องมือในการเรียนรู้ ดังนี้
- ทักษะทางคณิตศาสตร์
- ทักษะทางภาษา 
- ทักษะการสื่อความหมาย
- ทักษะการจำแนกแยกแยะ
- ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเวลา หรือ พื้นที่กับพื้นที่
เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือกระทำโดย โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และการสัมผัสทางผิวกาย ผ่านกระบวนการทำงานของสมอง สมองเป็นพื้นฐานทำให้พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย ให้พัฒนาเป็นไปตามความสามารถ ของเด็กแต่ละช่วงวัย จึงทำให้ คุณครูมีแนวทางการจัด ประสบการณ์ให้กับเด็ก อย่างเหมาะสม ควรคำนึงถึงพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด 
- ทักษะการสรุปองค์ความรู้ 
- ทักษะการ เขียน สรุปข้อมูล 
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการประยุกต์
เทคนิคการสอน
- การอธิบาย
- การให้ทำกิจกรรม
- การถาม - ตอบ
การนำไปประยุกต์ใช้
นำไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอน โดยใช้วิธีที่ดีที่สุด ให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัย อย่างเหมาะสม
การประเมิน

ประเมินตนเอง มาเรียมตรงเวลา ตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินคุณครู คุณครูเข้าสอนตรงเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น